วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

"ฮีตสิบสอง ประเพณี พิธีกรรมของชาวอีสาน ที่คนรุ่นหลังควรอนุรักษ์ไว้"


ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสานแตกต่างจากภาคกลางตรงที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู และคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ ส่วนขนบ- ธรรมเนียมของอีสานได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง เข้าใจว่าวัฒนธรรมล้านช้างได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมจีน นั่นคือ การเคารพบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก (ผีนาผีไร่) ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นพราหมณ์มากกว่าพุทธ ฮีตสิบสอง หรือ จารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือน ที่สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันทำบุญ เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ซึ่งฮีตสิบสองมีรายละเอียดดังนี้


เดือนเจียง (เดือนอ้าย)
บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ


เดือนยี่

หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน นิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็น มงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียม เก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน


เดือนสาม
ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ เดือนสาม) จะมีการทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การทำบุญข้าวจี่ จะเริ่มตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อย นำไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วนำไป ถวายพระ


เดือนสี่
ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัย แสน เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดีนว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์ มา ก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่?





เดือนห้า
ตรุษสงกรานต์หรือบุญสรงน้ำ การสรงน้ำมีการรดน้ำพระพุทธรูป
พระสงฆ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาและขอพร




เดือนหก
เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงาน บวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน


เดือนเจ็ด
เดือนเจ็ดทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ


เดือนแปด
เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาและเก็บไว้ตลอดพรรษา การนำไปถวายวัดจะมีขบวนแห่ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน


เดือนเก้า
ทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาจจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้หรือที่ใดที่หนึ่ง พร้อมทั้งกล่าว เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน


เดือนสิบ
เดือนสิบ ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบ ผู้ถวาย จะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้ สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้าไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการฟังเทศน์ เป็นการอุทิศให้แก่ ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน


เดือนสิบเอ็ด
เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่จะให้ โอวาทเตือนพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีลเป็นอันเสร็จพิธี พอตกกลางคืนมีการจุดประทีป โคมไฟ นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัดหรือตามริมรั้ววัด


เดือนสิบสอง
เดือนสิบสอง มีการทำบุญกองกฐินซึ่งเริ่มตั้งแต่วัน แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกัน ตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง




ประเพณีที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ เดือนอ้ายจนถึงเดือนสิบสอง ใครที่ไม่ไปช่วยงานบุญก็จะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ และยังไม่คบค้า สมาคมด้วย การร่วมประชุมทำบุญเป็นประจำเช่นนี้ จึงทำให้ชาวอีสานมีความสนิทสนมรักใคร่กัน ไม่เฉพาะแต่ในหมู่บ้านของตนเท่านั้น แต่ยังสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย


วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Conan The Movie13 [The Raven Chaser]

Conan The Movie13
[The Raven Chaser]






คำโฆษณาจากโชเน็นซันเดย์

...... เงื้อมมือองค์กรชุดดำคืบคลานมายังโคนันกับไฮบาระ และผู้คนรอบข้างพวกเขาตั้งแต่ 13 ธันวานี้เป็นต้นไป เตรียมพบกับเทรลเลอร์จากภาพยนตร์ " Shikkuoku no CHASER"!!นี่คือตอนที่ยินเข้าไกล้ตัวจริงของโคนันอีกก้าวแล้วอย่างนั้นรึ!?...... เรื่องราวในภาคนี้เริ่มต้นขึ้นที่คดีฆาตกรรมต่อเนื่องในหลายเมืองทั้งโตเกียวและคานากาวะ ตำรวจจากทุกพื้นที่จึงมาร่วมประชุมกันเพื่อสืบสวนติดตามคดีสะเทือนขวัญ แต่แล้วระหว่างประชุมก็มีคนหนึ่งที่แอบเล็ดลอดออกมาจากงาน แล้วหายขึ้นไปบนรถคันโปรดของยิน ต่อหน้าต่อตาของโคนัน!!...... โคนันจึงต้องเผชิญหน้าท้าอันตรายอีกครั้ง เพื่อไขปริศนาฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่สุดแล้วฝ่ายไหนจะต้องจนมุม จะเป็นโคนันหรือว่ายินกันแน่ โปรดติดตามชม!!




เรื่องราวเพิ่มเติมจากของเดิม

ยินเข้าประชิดตัวโคนัน...!?ตัวจริงของโคนันจะแตก!?.....สมาชิกชุดดำคนใหม่ออกโรง!!ภาพเงาของคนที่เหมือนจะเป็นพวกชุดดำคนใหม่!! คนที่แฝงตัวเข้าไปในการประชุมสืบสวนคือเจ้านี่เองรึ!?.....ไฮบาระผู้เยือกเย็นยังเก็บความหวาดหวั่นไว้ไม่อยู่...!?ขนาดไฮบาระที่ปกติแทบจะไม่เคยเปลี่ยนสีหน้าเลยยังเป็นขนาดนี้ เกิดเรื่องอะไรขึ้นกันแน่...!?.....ภัยมาถึงทีมของสารวัตรเมกุเระ!!ตัวจริงที่เก็บซ่อนไว้ของโคนันในที่สุดก็ถึงที่แจ้ง แถมพวกคนใหม่ๆ ยังโจมตีโคนันอีก...!? รันล่ะจะเป็นอะไรรึเปล่านะ!?